บทความสุขภาพ

Knowledge

ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และประสบการณ์ที่สามารถกลับมาเดินได้ภายในวันเดียว

นพ. ภูมิบาล เวศย์พิริยะกุล

ปัญหาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (หรือบางคนอาจเรียกว่า “หมอนรองกระดูกเคลื่อน” หรือ “กระดูกทับเส้น”) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งมักทำให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงและหรือมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น ปวดคอร้าวลงแขนและขา หรือการเดินที่ไม่ปกติ สถานการณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย แต่ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม เมื่อการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดไม่เพียงพอ การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจึงกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญที่สามารถช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหวและลดอาการปวดลงได้


บทความนี้จะกล่าวถึงการผ่าตัดรักษาปัญหาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท และเล่าถึงประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีอาการรุนแรง รวมถึงการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการรักษาปัญหาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร?


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือที่เรียกว่า “หมอนรองกระดูกเคลื่อน” หรือ “กระดูกทับเส้น” เป็นอาการที่เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาและกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชาหรืออ่อนแรง


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นการรักษาอาการในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีอาการรุนแรงซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ร้าวไปที่ขาหรือแขน และอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือความรู้สึกในบางส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการรักษาด้วยการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด หรือวิธีการรักษาโดยวิธีที่ไม่ผ่าตัดไม่สามารถบรรเทาอาการได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


อาการที่ควรเข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


  • ปวดหลังหรือคอ: อาการปวดที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน อาจร้าวลงขาหรือแขน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ถูกกดทับ
  • ปวดร้าวลงขาหรือแขน: มีอาการปวดร้าวจากหลังลงขา หรือจากคอลงแขน
  • มีอาการชา: ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาหรือรู้สึกเป็นตะคริวที่ขาหรือแขน บางครั้งอาจมีอาการชาร่วมกับอาการปวด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง: ยกขาหรือแขนไม่ขึ้น เดินลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่สมดุล
  • ปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว: หากนั่งนาน ยืน หรือบิดตัว จะรู้สึกว่าอาการปวดแย่ลง
  • ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้: ในกรณีรุนแรง หมอนรองกระดูกอาจกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการขับถ่าย ทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันที

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกและความรุนแรงของอาการ


  1. Microdiscectomy: เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (minimally invasive) เพื่อเอาส่วนของหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทออก สำหรับการผ่าตัดแบบนี้ ศัลยแพทย์จะใช้กล้องขนาดเล็กในการผ่าตัดซึ่งทำให้สามารถเห็นและตัดส่วนที่ทับเส้นประสาทออกได้ วิธีนี้มีแผลขนาดเล็ก ผู้ป่วยจึงมักจะฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับมาเดินได้ภายในวันเดียวหลังผ่าตัด
  2. Laminectomy: การผ่าตัดเอากระดูกบางส่วนออกเพื่อลดแรงกดบนเส้นประสาท
  3. Spinal Fusion: กรณีที่หมอนรองกระดูกมีความเสียหายอย่างรุนแรง แพทย์อาจทำการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสองปล้องเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงขึ้น
  4. การใส่หมอนรองกระดูกเทียม (Artificial Disc Replacement): การรักษาแบบนี้เป็นการนำหมอนรองกระดูกที่เสียหายออก และใส่หมอนรองกระดูกเทียมที่ทำจากวัสดุพิเศษเข้าไปแทนที่ การใส่หมอนรองกระดูกเทียมช่วยให้ผู้ป่วยยังสามารถเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้อย่างเป็นธรรมชาติ

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด


หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นและอาจต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเดินได้ภายในวันเดียวหลังจากผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้การผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้างน้อย และฟื้นตัวเร็ว


อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการฟื้นตัวที่สมบูรณ์อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยทั่วไปการฟื้นตัวอาจใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงเลี่ยงการยกของหนักหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดที่หลัง


ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น


เช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกชนิด การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีความเสี่ยง เช่น การติดเชื้อ เลือดออก เส้นประสาทถูกทำลาย หรือภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเหล่านี้ค่อนข้างต่ำ หากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ


ประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


จากประสบการณ์ตรงของทันตแพทย์หญิงสุดรัตน์ จิตต์เจริญรุ่ง (อายุ 51 ปี) ที่ต้องทำงานรักษาคนไข้เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เธอต้องเผชิญกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมา นั่นคือ หมอนรองกระดูกเสื่อม และหมอนรองกระดูกทับไขสันหลัง จนทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

อาการเริ่มต้น


อาการเริ่มต้นจากการทำงานรักษาฟันคนไข้ที่เริ่มไม่ค่อยสะดวก เริ่มรู้สึกว่าไม่มีแรงในการถอนฟันคนไข้ จากนั้นก็มีอาการปวดร่างกายด้านขวาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปวดตั้งแต่คอ ร้าวลงไปถึงแขนและขา และมือก็ใช้งานได้ไม่เหมือนเดิม โดยอาการจะชัดเจนมากขึ้นในวันที่ต้องทำงานหนักหรือรักษาคนไข้เป็นเวลานาน ๆ หรือในช่วงที่ต้องขับรถนาน ๆ ซึ่งได้พยายามอดทนเป็นเวลากว่า 2-3 เดือน จนไม่สามารถรับสภาพความเจ็บปวดนี้ได้อีก จึงตัดสินใจที่จะหาวิธีรักษา เพื่อให้สามารถกลับมาทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ


การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


ตัดสินใจจะเข้ารับการรักษา ประกอบกับมีคนรู้จักที่เคยมีอาการคล้ายกัน และเพิ่งจะรักษาหายเป็นปกติเมื่อ 3 เดือนก่อนแนะนำให้มารักษาที่ศูนย์กระดูกสันหลัง (Advanced Spine Center) รพ.พระรามเก้า โดยมีแพทย์เฉพาะทาง มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการผ่าตัดที่ซับซ้อน รวมไปถึงการผ่าตัดซ้ำ (Revision Spine) สำหรับผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดมาก่อน ทำให้ผู้ป่วยท่านนี้มั่นใจและตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่ รพ.พระรามเก้า


อาการที่พบ


นอกจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้ว ผู้ป่วยท่านนี้ยังมีอาการหมอนรองกระดูกทับไขสันหลังร่วมด้วย ทั้งยังพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูก และมีการผิดรูปร่างของโครงสร้างค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดโดยด่วน


การฟื้นตัวหลังผ่าตัดที่รวดเร็ว


ทันตแพทย์หญิงสุดรัตน์ได้กล่าวว่า รู้สึกเหมือนมีเวทมนตร์ที่ทำให้เธอสามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติภายในวันเดียว หลังจากการรักษา เธอไม่รู้สึกปวดคอร้าวลงแขนอีกต่อไป และสามารถใช้แขนและเดินได้ตามปกติ แม้จะบอกว่ามันเหมือนเวทมนตร์ แต่เธอก็เข้าใจดีว่าทั้งหมดนี้เกิดจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ และความชำนาญของแพทย์ที่รักษาตนเอง


สิ่งที่เธออยากฝากถึงผู้ป่วยที่มีอาการเดียวกับเธอคือ อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและเสื่อมสามารถรักษาให้หายได้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และเราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง

สรุป


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือการผ่าตัดกระดูกทับเส้นเป็นวิธีทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งอาการสำคัญที่ควรสังเกต คือ อาการปวดคอร้าวลงแขนและขา รวมถึงปัญหาในการใช้แขนและการเดิน หากอาการไม่รุนแรงมาก อาจบรรเทาอาการได้โดยการทำกายภาพบำบัด หรือรักษาด้วยยา แต่หากมีอาการรุนแรง การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง นอกจากนี้ แม้บางคนจะเคยทำการผ่าตัดแล้วแต่ยังไม่หายดี ก็ควรเข้ารับการวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ภูมิบาล  เวศย์พิริยะกุล

นพ. ภูมิบาล เวศย์พิริยะกุล

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital