บทความสุขภาพ

Knowledge

การตรวจสอบหัวใจและหลอดเลือด

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

โดย นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

มีผู้ป่วยหลายคนถามว่าการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างไร และคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบทุกคนต้องทำหรือไม่


การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจโดยตรงแล้วถ่ายภาพของเส้นเลือดหัวใจ ทำให้สามารถเห็นบริเวณที่ตีบตันของเส้นเลือดได้อย่างละเอียด วิธีการทำนั้นผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาที่ขาหนีบซ้ายหรือขวา หลังจากนั้นแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนัง แล้วสอดสายสวนขนาดประมาณ 2.5 มม. เข้าไปในเส้นเลือดแดงผ่านขึ้นไปที่เส้นเลือดแดงใหญ่เออออร์ต้า แล้ววางปลายสายสวนไว้ที่ปากทางเข้าของเส้นเลือดหัวใจทั้งซ้ายและขวา ฉีดสารทึบรังสี ประมาณ 3-5 ซีซี แล้วถ่ายภาพในหลายๆ มุม เพื่อดูเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ โดยวิธีนี้จะเจ็บเฉพาะตอนแรกที่ฉีดยาชาบริเวณขาหนีบเท่านั้น หลังจากที่ทำเสร็จดึงสายสวนออกจะกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บ ผู้ป่วยต้องนอนราบและงอขาหนีบไม่ได้ 6-12 ชั่วโมง เวลาที่ใช้ในการทำทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง


การฉีดยาสีตรวจหลอดเลือดหัวใจนั้นมีความปลอดภัยสูงมาก อันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ โรคแทรกซ้อนนั้นอาจเกิดจากการแพ้สารทึบรังสี เช่น ผื่นแพ้ลมพิษ แต่ในปัจจุบันนี้สารทึบรังสีที่ใช้มีผลข้างเคียงน้อย นอกจากนี้ยังอาจเกิดการฉีกขาดของผนังเส้นเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบ หรือผนังเส้นเลือดโป่งพองแต่จะเกิดขึ้นน้อยถ้าระมัดระวัง


ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นไม่จำเป็นต้องตรวจสวนหัวใจทุกคนยกเว้นในกรณีที่มีอาการรุนแรงกินยาแล้วยังมีอาการอยู่ ผู้ป่วยอายุน้อย แพทย์มักจะแนะนำให้ทำหรือในกรณีที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีอาการมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดหรือทำการขยายเส้นเลือดหัวใจ


ส่วนการตรวจโดยวิธีอื่นๆ นั้น เช่น การใช้เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Ultrafast CT) เพื่อดูปริมาณแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจนั้นไม่สามารถทดแทนการฉีดสีได้เป็นเพียงการตรวจที่ช่วยบอกว่าถ้ามีปริมาณแคลเซียมมากจะมีโอกาสที่เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบสูงเท่านั้น

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital