บทความสุขภาพ

Knowledge

จะทราบว่าตนเองไข่ตกได้อย่างไร


จะทราบว่าตนเองไข่ตกได้อย่างไร


การดูว่าตนเองไข่ตกนั้นมีด้วยกันหลายวิธี


1. ประวัติประจำเดือน ตามธรรมชาติที่มีไข่ตกเป็นปกติจะมีรอบเดือนมาทุกๆ 28-30 วันอย่างไรก็ตามร้อยละ 10 ของสตรีที่มีรอบเดือนมาปกติอาจไม่มีไข่ตกก็ได้


2. การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายก่อนตกไข่จะต่ำกว่าระยหลังตกไข่ ภายหลังไข่ตกไปแล้วอุณหภูมิจะสูงอย่างต่อเนื่องหลังจากนั้นจะลดลงเล็กน้อยก่อนที่จะมีระดูในรอบถัดไป วิธีการตรวจวัดทำโดยให้วัดอุณหภูมิทุกวันตอนเช้าภายหลังตื่นนอนทันที โดยอมปรอทใต้ลิ้นและนำมาอ่านผล ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องปฏิบัติทุกวัน และการที่มีไข่ตกนั้นเป็นการดูย้อนหลัง ซึ่งระดูรอบถัดไปอาจจะไม่มีไข่ตกก็ได้


3. การตรวจหาฮอร์โมน LH ปัจจุบันมีการตรวจวัดฮอร์โมนดังกล่าวทั้งจากทางเลือดและปัสสาวะ โดยหากตรวจพบผลบวกจะตกไข่ภายใน 14-26 ชั่วโมง ดังนั้นก็จะแนะนำให้มีการร่วมเพศในวันถัดไป ข้อเสียคืออาจต้องตรวจหลายครั้งในแต่ละรอบระดูทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย


4. การเจาะเลือดเพื่อหาฮฮร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในระยะก่อนไข่ตกฮฮร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ในระดับต่ำๆ คือน้อยกว่า 1 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ภายหลังตกไข่จะมีระดับที่สูงขึ้น ในทางปฏิบัติจะทำการตรวจเลือดในวันที่ 21 ของรอบระดู เพื่อส่งตรวจหาฮฮร์โมนโปรเจสเตอโรน ถ้าค่าได้มากกว่า 3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรก็บอกว่ามีไข่ตก อย่างไรก็ตามวิธีนี้เหมาะสำหรับในรายที่มีรอบเดือนที่มาสม่ำเสมอ


5. การสุ่มตัดชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก ปัจจุบันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีนี้ เนื่องจากมีความเจ็บปวด เสียค่าใช้จ่ายสูงในการตรวจหาชื้นเนื้อ


6. การอัลตราซาวด์เพื่อกำหนดวันตกไข่ เป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้สะดวก ไม่เจ็บปวด โดยก่อนไข่ตกถุงไข่จะโตขึ้นประมาณ 2 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงก่อนไข่ตกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18-25 มิลลิเมตร ดังนั้นจึงสามารถคาดคะเนวันตกไข่ได้



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital