บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคไตกับกรรมพันธุ์

คุณพ่อเป็นไตวายกำลังรักษาด้วยการฟอกเลือด และรอเปลี่ยนไต อยากทราบว่าตัวเองจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตเหมือนคุณพ่อหรือไม่ และจะทราบได้อย่างไรว่ากำลังป่วยเป็นโรคไต มีวิธีการใดป้องกันได้บ้าง เช่น ลดทานอาหารเค็ม จะเกี่ยวข้องกันหรือไม่ครับ


คำตอบ (จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต)

โดย นายแพทย์โกวิท ด่านวิริยะทรัพย์ (อายุรแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยว

ไตวายมีหลายชนิด ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุแต่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ มีจำนวนน้อยที่เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น ไตวายจากซีสต์ที่ไตทั้ง 2 ข้าง หรือไตวายที่เกิดร่วมกับหูหนวก เป็นต้น ถ้าไม่ใช่กรณีเหล่านี้ที่เป็นกรรมพันธุ์ก็ไม่ต้องกังวลที่จะเป็น


ส่วนไตวายที่เกิดจากโรคในระบบอื่น เช่น ไตวายจากเบาหวานนั้นอาจจะมีความเป็นไปได้สูงที่บุตรหลานของผู้ป่วยเบาหวานก็มีโอกาสเป็นเบาหวานสูง และเมื่อเป็นเบาหวานแล้วควบคุมไม่ได้ดีก็มีโอกาสไตวายได้เช่นกัน


การตรวจว่ามีโรคไตหรือเปล่าควรตรวจให้เจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมสภาพไปจนไตวายในที่สุด การตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการรั่วของโปรตีนไข่ขาว หรือเม็ดเลือดแดงออกมาจะทำให้พบว่ามีความผิดปกติของไตตั้งแต่ยังไม่มีอาการใดๆ การตรวจเลือดอาจช่วยบอกถึงสมรรถนะในการขับของเสียของไตว่ายังดีอยู่หรือไม่ ซึ่งการตรวจทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากแต่อย่างใด แต่จะช่วยพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และช่วยให้เริ่มการรักษาแต่เนิ่นๆ


การพบแพทย์เพื่อวัดความดันโลหิตสูงก็จะช่วยให้พบว่ามีความผิดปกติที่ไตหรือไม่ แต่โรคไตไม่จำเป็นต้องมีความดันโลหิตสูงทุกราย แต่เมื่อมีโรคไตแล้วการควบคุมความดันโลหิตสูงจะช่วยลดอัตราการเสื่อมสภาพของไตให้ช้าลง ความเค็มเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การควบคุมความดันโลหิตยากขึ้น การลดอาหารเค็มจึงจำเป็นในการควบคุมความดันโลหิต แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคไตได้


ขณะนี้พบว่ามียากลุ่มหนึ่งที่ช่วยชลออาการเสื่อมสภาพของไตให้ช้าลง ถ้าผู้ป่วยได้รับยานี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่พบว่าเป็นโรคไต ยากลุ่มนี้มีชื่อว่า ACEI ซึ่งใช้เป็นยาลดความดันโลหิตด้วยในตัว ขนาดและวิธีใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์


บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital