บทความสุขภาพ

Knowledge

คำถามยอดนิยมของโรคไต

คำถามยอดนิยมของโรคไต


อาการเจ็บป่วยของโรคต่างๆมักจะมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันกับอาการของโรคไต เช่น อาการบวม อาการปวดหลัง ฯลฯ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่เป็นสัญญาณบอกเหตุของโรคไตหรือไม่


อาการบวม


อาการบวมไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไตแต่อย่างเดียว ผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคขาดอาหาร โรคท่อน้ำเหลืองตีบตัน โรคขาดฮอร์โมนไธรอยด์ ก็เกิดอาการบวมได้เช่นกัน


อาการปวดหลัง


อาการปวดหลังอาจพบได้กับผู้ป่วยโรคไตอักเสบ นิ่วที่ไต แต่โรคอื่นๆ เช่น โรคทางด้านกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อหลังอักเสบ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้บ่อยๆ เพราะฉะนั้น ปวดหลังไม่จำเป็นต้องเป็นโรคไต


อาการปัสสาวะบ่อยๆ


ผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคไตเสมอไป ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงก็ทำให้เกิดอาการปัสสาวะได้บ่อยๆ ผู้ป่วยที่มีอาการอับเสบของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ก็มีอาการปัสสาวะบ่อยเนื่องจากเกิดอาการระคายเคือง


อาการปัสสาวะขัด


ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะขัด อาจจะเกิดจากการอักเสบหรือตีบตันของท่อปัสสาวะ บางครั้งนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะก็อาจจะอุดตันท่อปัสสาวะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดได้ ในผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากโตเป็นสาเหตุ


อาการปัสสาวะขุ่น


อาการปัสสาวะขุ่นมากพบในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อและการอักเสบของไตหรือกระเพาะปัสสาวะ


อาการปัสสาวะเป็นเลือด


ผู้ป่วยที่ปัสสาวะเป็นเลือดหรือปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ แสดงว่ามีเลือดออกมาปนกับปัสสาวะ เลือดอาจจะออกมาจากไตทางกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะก็ได้


สาเหตุที่มีเลือดออกมาทางปัสสาวะนี้มีหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากไตอักเสบ นิ่วที่ไต เนื้องอกหรือมะเร็งของไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือท่อปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยที่มีเลือดในปัสสาวะ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง


อาการปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม


ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีน้ำปลา มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการไตอักเสบฉับพลัน โดยเกิดจากการที่มีเลือดออกมาจากไตและต่อมาถูกแปรสภาพโดยปฏิกิริยาเคมีบางอย่างทำให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบหรือผู้ป่วยโรคตับบางชนิดที่มีอาการตัวเหลือง ก็อาจจะมีปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มคล้ายกับผู้ป่วยโรคไตอักเสบ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็ว


นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ทำให้ญาติและผู้ป่วยโรคไตสับสนหลายประการดังนี้


การใช้ไตเทียมทำให้สภาพผู้ป่วยเลวลงหรืออายุสั้นจริงหรือ?


ผู้ป่วยและญาติมักจะมีความเข้าใจผิดและได้รับคำบอกเล่าผิดๆ จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ว่าผู้ป่วยโรคไตที่ใช้ไตเทียมหรือการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาจะทำให้สภาพผู้ป่วยเลวลงและอายุจะสั้น ความเข้าใจนี้ผิดอย่างยิ่ง


การใช้ไตเทียมและการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเป็นการขจัดของเสียที่เป็นพิษออกจากร่างกายแทนไต ทำให้สภาพร่างกายดีขึ้นและแข็งแรงขึ้น


ผู้ป่วยเหล่านี้ถ้าได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ สามารถมีชีวิตยืนยาวตราบเท่าที่ยังได้รับการดูแลรักษาอย่างดี มีผู้ป่วยจำนวนมากดำรงชีวิตและประกอบภารกิจการงานได้เหมือนคนปกติ บางรายยังคงเป็นที่พึ่งของสมาชิกในครอบครัว และบางรายรับผิดชอบหน้าที่สำคัญต่อสังคมและประเทศชาติ


ผู้บริจาคไตให้แก่ญาติพี่น้องทำให้อายุสั้นกว่าคนปกติจริงหรือ ?


มนุษย์เรามีไตอยู่ 2 ข้าง บางคนเกิดมามีไตเพียงข้างเดียว บางคนประสบอุบัติเหตุ เช่น รถชนทำให้ไตเสียไปข้างหนึ่ง บางคนเกิดนิ่วที่ไตขนาดใหญ่มากจนทำให้ไตเสียไป 1 ข้าง บุคคลเหล่านี้ถึงแม้จะมีไตเพียงข้างเดียวก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป จะไม่มีอากรทางโรคไตใดๆทั้งสิ้น ร่างกายจะสมบูรณ์แข็งแรงและมีความรู้สึกเหมือนบุคคลปกติทุกประการ เพราะไตเพียงข้างเดียวก็สามารถรับภาระขจัดของเสียออกจากร่างกายตลอดจนทำหน้าที่อื่นๆได้เพียงพอ


ดังนั้นคนเราบางคนเกิดมามีไตเพียงข้างเดียวก็สามารถมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนปกติ บางคนถึงแก่กรรมด้วยโรคชราหรือโรคอื่นๆ เมื่อผ่าศพตรวจดูแพทย์พบว่ามีไตเพียงข้างเดียว


การบริจาคไตให้กับญาติพี่น้องเป็นบุญกุศลที่ประเสริฐที่สุด เป็นการชุบชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้ผลดีที่สุด การที่ผู้ป่วยโรคไตวายได้รับไตใหม่จากญาติ ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขสามารถทำมาหาเลี้ยงครอบครัวเป็นที่พึ่งของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยเพียงคนเดียวก็เท่ากับเป็นการช่วยให้ความหวังแก่ครอบครัวทั้งหมด


ที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนไตมักจะมีความสำนึกและตระหนักในชีวิตใหม่ที่เขาได้มา ผู้ป่วยเหล่านี้มักมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีคุณธรรม มีความเมตตา ทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือสังคมในทุกๆด้านเท่าที่จะทำได้อยู่เสมอ


ขณะเดียวกันผู้ที่จะบริจาคไตให้กับญาติพี่น้องคนอื่น หลังจากบริจาคไตไปแล้วมักจะเป็นบุคคลที่มีความอิ่มเอิบในผลบุญที่ได้กระทำไป บุคคลเหล่านี้นักจะได้รับการยกย่องสรรเสริญจากญาติมิตรตลอดจนสังคมที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดไป


ในปัจจุบัน การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตหยุดทำงานลงหรือภาวะไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Failure) มีทั้งหมด 3 แนวทางด้วยกันคือ


1. การล้างของเสียทางช่องท้อง หรือ CAPD (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis)


เป็นการล้างเอาของเสียออกจากร่างกายด้วยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องประมาณ 1,500 – 2,000 ซีซี ทิ้งไว้ประมาณ 4 – 6ชั่วโมง เพื่อปล่อยให้น้ำยามีการแลกเปลี่ยนเอาของเสียออกจากร่างกายผ่านทางเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal membrane) หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำที่มีของเสียปนออกมาทิ้งไป


ทั้งนี้การใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องจนกระทั่งถึงเวลาปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องถือเป็น 1 รอบของการล้าง ซึ่งในแต่ละวันจะต้องล้างเช่นนี้ 4 – 6 รอบ


2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือ Hemodialysis


เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยไตวายผ่านเข้าไปในตัวกรองโดยอาศัยเครื่องฟอกเลือดโดยผู้ป่วยจะใช้เวลาในการฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละ 3 – 5 ชั่วโมง


3. การผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือ Kidney Transplantation


เป็นการนำไตของผู้บริจาคเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยไตวาย เพื่อให้ไตบริจาคนั้นทำหน้าที่แทนไตเก่าที่หยุดทำงานไปแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital