บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคไต ภัยเงียบใกล้ตัว

โรคไต หรือ โรคที่ผิดปกติทางไต เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของ Metabolic Syndrome ที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพาต โรคอ้วน และโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด ซึ่งทุกโรคมีผลกระทบโดนตรงต่อไตและเป็นบ่อเกิดของโรคไตวายในที่สุด


สาเหตุของการเกิดโรค


สาเหตุการเกิดโรคไตมีมากมาย แต่สาเหตุที่พบมากที่สุดมี 7 กลุ่ม ได้แก่


  1. โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงนานๆ จะทำให้เส้นเลือดในร่างกายเสียไป
  2. โรคความดันโลหิตสูง ความดันสูงนานๆ ทำให้เส้นเลือดที่ไตเสีย ในที่สุดก็เป็นโรคไตวาย
  3. การอักเสบของไต ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่ผิดปกติทำลายไต ทำให้เกิดไตวาย
  4. เป็นนิ่วอุดตัน โรคเก๊าท์
  5. เส้นเลือดอักเสบบางชนิด และไขมันอุดตันเส้นเลือดก็ทำให้ไตเสียได้
  6. ติดเชื้อทำให้ไตอักเสบนานๆ
  7. ยาและสารเคมีบางชนิดทำให้ไตเสีย

การดูแลป้องกัน


การดูแลป้องกันโรคที่เกี่ยวกับไตนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารไขมันสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง ทางผักผลไม้ ทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว ทานปลา และควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ควรลดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ยังควรที่จะตรวจเช็คร่างกายสม่ำเสมอ ตรวจเช็คเบาหวาน และเช็คความดันโลหิต ไขมันในเลือด


การรักษาทางการแพทย์


การรักษาทางการแพทย์มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่


  1. ใช้เครื่องฟอกเลือดหรือไตเทียม เพื่อเอาของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
  2. การล้างช่องท้องเพื่อให้เลือดสะอาด
  3. การเปลี่ยนไต โดยอาไตจากคนอื่นมาข้างหนึ่ง ปลูกเข้าไปในช่องท้อง การบริจาคไต 1 ข้างให้ญาติพี่น้องไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริจาค ซึ่งการบริจาคไตมีมามากกว่า 50 ปีแล้ว

เกร็ดความรู้


การบริจาคไตจากผู้ที่เสียชีวิตแล้ว เป็นสิ่งที่ได้บุญกุศลที่สุด ในประเทศไทย สภากาชาดไทยจะเป็นผู้รับบริจาค และจะเป็นผู้คัดสรรไตบริจาคนี้ให้กับผู้ป่วยโรคไตด้วยความยุติธรรม ตามอันดับความเหมือนของเนื้อเยื่อและตามระยะเวลาที่รอคอยแก่ผู้รับ การผ่าตัดเปลี่ยนไต ต้องอาศัยความพร้อมของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลร่วม 10 คน ได้แก่ แพทย์ผ่าตัดไต แพทย์ผ่าตัดท่อปัสสาวะ แพทย์ผ่าตัดเส้นเลือดไต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเนื้อเยื่อ แพทย์ดมยาสลบ แพทย์โรคหัวใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนไตควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความพร้อมของทีมแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะไตที่ได้รับบริจาคอาจได้รับมาจกสภากาชาดไทยเมื่อใดก็ได้


ข้อมูลจาก : สถาบันเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital