บทความสุขภาพ

Knowledge

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

นพ. พฤกษ์ ไชยกิจ

การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเป็นอีกวิธีการรักษาปัญหาข้อเข่าเสื่อมรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ผู้ป่วยได้กลับมาเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับปกติอีกครั้ง ซึ่งรูปแบบของข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร เหมาะกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมกลุ่มไหนบ้าง สามารถหาคำตอบที่สงสัยได้ในบทความนี้


Key Takeaways


  • การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเป็นวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่ให้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้ ซึ่งการผ่าตัดข้อเข่าเทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง
  • ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ? ข้อเข่าเทียมมี 2 รูปแบบ ได้แก่ ข้อเข่าเทียมทั้งหมด (TKA) ข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)
  • การเลือกว่าจะผ่าแบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับใคร?

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร?


artificial-knee-material-1024x1024.jpg

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ? ในปัจจุบันข้อเข่าเทียมอยู่ 2 ชนิดหลักได้แก่ ข้อเข่าเทียมที่ทดแทนผิวข้อทั้งหมด และข้อเข่าเทียมที่ทดแทนผิวข้อบางส่วน


ข้อเข่าเทียมที่ทดแทนผิวข้อทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty Prosthesis)


ข้อเข่าเทียมที่ทดแทนผิวข้อทั้งหมด คือข้อเข่าเทียมที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนผิวข้อเข่าทั้งหมด เป็นการนำผิวกระดูกที่เสื่อมสภาพออกทั้งหมด ได้แก่ปลายกระดูกต้นขาและปลายกระดูกหน้าแข้ง และอาจมีการใส่ผิวกระดูกสะบ้าด้วย


ผิวข้อเข่าเทียมทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ทางการแพทย์ที่สามารถอยู่ภายในร่างกายได้โดยไม่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ไทเทเนียมอัลลอย โคบอลต์โครเมียม โพลีเอทีลีนคุณภาพสูง และเซรามิก ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะถูกนำมาแทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมสภาพ เพื่อใช้งานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคงทนต่อการเสียดสี


ข้อเข่าเทียมประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก:


ส่วนต้นขา ทำจากโลหะผสมโคบอลต์โครเมียม เป็นชิ้นขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับข้อเข่าเดิมของผู้ป่วย หรือประมาณความกว้างของฝ่ามือผู้ป่วย มีรูปทรงโค้งเพื่อเลียนแบบลักษณะพื้นฐานของ กระดูกต้นขาส่วนปลายบริเวณหัวเข่า ทำให้เกิดการงอเข่า ได้อย่างเหมาะสม โดยจะนำไปครอบส่วนปลายกระดูกต้นขาที่ตัดออกเพื่อให้มีลักษณะเป็นผิวข้อเข่า ส่วนบน


ส่วนนี้ มีความแตกต่างในการออกแบบได้หลายอย่างซึ่งให้ผลที่ต่างกัน เช่น มีการออกแบบ ให้อนุรักษ์เอ็นไขว้ หรือแบบ ตัดเอ็นไขว้ในข้อเข่า ซึ่งการออกแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้ในข้อเข่า จะลดการตัดกระดูกปลายเข่าของผู้ป่วย ลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกเข่าหัก โดยในงานวิจัยที่ดูข้อมูล ระดับประเทศ เช่นข้อมูลประเทศออสเตรเลีย พบว่า ข้อเข่าเทียมชนิดที่อนุรักษ์เอ็นไขว้ ในข้อเข่าจะมีอัตราการผ่าตัดซ้ำที่น้อยกว่าข้อเข่าเทียมแบบตัดเอ็นไขว้ในข้อเข่า


นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบให้มีการปรับหน้ากว้างตามรูปร่างของข้อเข่าเพื่อทำให้ใส่ข้อเทียม ได้เข้ารูปมากขึ้น รวมทั้งการใช้วัสดุพิเศษเช่น ceramic มาเคลือบผิวให้ลื่น และแข็งแรง ลดการสึกหรอที่เกิดในข้อเทียม ปัจจุบันมีความสนใจการพัฒนาการออกแบบในส่วนนี้เป็นอย่างมากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้อเข่า เทียม เลียนแบบลักษณะข้อเข่าเดิม ช่วยให้ผู้ป่วยใช้งานข้อเข่าได้ดีขึ้นหลังผ่าตัด


ส่วนกระดูกหน้าแข้ง เป็นชิ้นขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับข้อเข่าเดิมของผู้ป่วยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ


  1. ส่วนฐานทำจากโลหะผสมโคบอลต์โครเมียมหรือ ไทเทเนียมอัลลอย มีลักษณะเป็นเดือยยึด ในโพรงกระดูก
  2. แผ่นรองรับน้ำหนัก ซึ่งทำจากพลาสติกโพลีเอทิลีนคุณภาพสูงเป็นตัวรองรับน้ำหนักและช่วยลดการ สึกหรอเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวระหว่างส่วนด้านบนและด้านล่างของข้อเข่า

ซึ่งส่วนที่เป็นฐานก็มีความแตกต่างในการออกแบบ และวัสดุได้หลายอย่าง เช่นลักษณะรูปร่าง ของฐานโลหะ ชนิดโลหะที่ใช้ ความหนาของตัวโลหะ ซึ่งอาจมีผลต่อการกระจายแรงบริเวณกระดูก ที่เหลือ ซึ่งจะมีผลต่อความคงทนของข้อเทียม * และส่วนที่เป็นแผ่นรับน้ำหนัก จะมีความแตกต่างของ ส่วนประกอบของตัวพลาสติกและกรรมวิธีการผลิต ซึ่งจะส่งผลเกี่ยวกับการลดการสึกหรอเวลาที่ใช้งาน ในส่วนกระดูกหน้าแข้งนี้จะมีความหลากหลายของการออกแบบเช่นกันกับส่วนกระดูกต้นขา และยังมีการพัฒนาต่อเนื่องถึงทุกวันนี้


ส่วนกระดูกสะบ้า ทำจากพลาสติกโพลีเอทิลีนคุณภาพสูง ใช้แทนผิวของกระดูกสะบ้า มีความแตกต่างในการออกแบบอยู่บ้าง ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการตัดผิวกระดูกออกแล้วแปะผิวสะบ้าเทียม ที่ทำจากพลาสติกลงไป ทั้งนี้ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาไม่เปลี่ยนผิวส่วนกระดูกสะบ้านี้ก็ได้


เนื่องจากการผ่าตัดนี้ ทำการเปลี่ยนผิวข้อทั้งหมด จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของข้อมากแล้ว มีขาโก่งผิดรูปมากก็สามารถผ่าตัดแก้ไขให้กลับมาตรงได้ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ตามรายงานมากกว่า 90% ของข้อเข่าเทียมใช้งานได้เกิน 15 ปี หลังผ่าตัด


ข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartmental Knee Arthroplasty, UKA)


ข้อเข่าเทียมที่ทดแทนผิวข้อบางส่วน คือข้อเข่าเทียมที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนผิวข้อเข่าเฉพาะส่วน ที่เสื่อมสภาพออกในระยะแรกของโรค ที่พบบ่อยคือได้แก่ด้านในของปลายกระดูกต้นขา และปลายกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งในกรณีนี้จะไม่มีการเปลี่ยนผิวกระดูกสะบ้า


ผิวข้อเข่าเทียมจะทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ทางการแพทย์ที่สามารถอยู่ภายในร่างกายได้โดยไม่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โคบอลต์โครเมียม โพลีเอทีลีนคุณภาพสูง และเซรามิก ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะถูกนำมาแทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมสภาพ เพื่อใช้งานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคงทนต่อการเสียดสี


ข้อเข่าเทียมบางส่วนประกอบด้วยสองส่วนหลัก:


ส่วนต้นขา จะเป็นชิ้นงานขนาดเล็กประมาณนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วย ทำจากโลหะผสมโคบอลต์โครเมียม มีรูปทรงโค้งเพื่อเลียนแบบลักษณะพื้นฐานของ กระดูกต้นขาส่วนปลายบริเวณหัวเข่า ทำให้เกิดการงอเข่าได้ใกล้เคียงของเดิมมาก โดยจะนำไปครอบส่วนปลายกระดูกต้นขา โดยมีเดือยเล็กๆยึดไว้ อาจมีการใช้วัสดุพิเศษเช่น ceramic มาเคลือบผิวให้ลื่น และแข็งแรง ลดการสึกหรอที่เกิดในข้อเทียม


ส่วนกระดูกหน้าแข้ง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ


  1. ส่วนฐานทำจากโลหะผสมโคบอลต์โครเมียม จะเป็นชิ้นงานขนาดเล็กประมาณนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วย มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีจุดยึดเล็กๆ
  2. แผ่นรองรับน้ำหนัก ซึ่งทำจากพลาสติกโพลีเอทิลีนคุณภาพสูงเป็นตัวรองรับน้ำหนักและช่วยลดการ สึกหรอเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวระหว่างส่วนด้านบนและด้านล่างของข้อเข่า

ซึ่งส่วนนี้โดยรวมจะมีความแตกต่างได้สองแบบ คือ แผ่นรับน้ำหนักเคลื่อนไหวได้ และ แผ่นรับน้ำหนักเคลื่อนไหวไม่ได้ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป โดยในงานวิจัยที่ดูข้อมูล ระดับประเทศ ไม่พบความแตกต่างในด้านการผ่าตัดซ้ำมากนักระหว่างทั้งสองแบบนี้


เนื่องจากการผ่าตัดนี้ ทำการเปลี่ยนผิวข้อบางส่วน จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของข้อค่อนข้างน้อย มีขาโก่งผิดรูปไม่มาก และมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมทั้งหมด เนื่องจากอาจมี ความเสื่อมของผิวข้อส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนได้ และการผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดที่ต้องการความเที่ยงตรง แม่นยำมาก เนื่องจากขนาดข้อเทียมที่เล็ก ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยจะเพิ่มความเสี่ยงการผ่าตัด ซ้ำได้มาก ซึ่งความแม่นยำนี้จะมากขึ้นได้ด้วยการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด*


ทำความเข้าใจให้มากขึ้น “การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว”และ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม ฟื้นตัวไว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น


โดยทั่วไป ข้อเข่าเทียมทั้งสองแบบจะถูกยึดเข้ากับกระดูกที่มีอยู่โดยใช้ bone cement เป็นวัสดุชนิด ที่ใกล้เคียงกับวัสดุ อุดฟันสีขาวที่ทันตแพทย์ใช้เวลาอุดฟันที่ผุ ซึ่งสามารถยึดตรึงข้อเข่าเทียมกับกระดูก ได้เป็นอย่างดี ถือเป็น gold standard ของการผ่าตัดปัจจุบัน การพัฒนาในเรื่องนี้ในปัจจุบันก็มี การออกแบบโลหะพิเศษให้ สามารถยึดกับกระดูกได้โดยไม่ต้องใช้ bone cement หรือ uncemented knee prosthesis แต่จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงโดยเชื่อว่าจะมีความคงทนที่เพิ่มขึ้นไปอีก


ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ เลือกให้เหมาะกับอาการ เพิ่มความมั่นใจให้ก้าวเดินอย่างมั่นคง


การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเป็นวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบันในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อม รุนแรง ช่วยลดความเจ็บปวดและสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย การดูแลตนเองหลังผ่าตัดอย่างดี เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า จะเพิ่มโอกาสให้ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ใช้งานได้ดี ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ


ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมมอบความมั่นใจในทุกก้าวเดินด้วยการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง และดูแลผู้ป่วยให้สามารถกลับเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคงโดยเร็ว


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม



คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม


ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม สามารถทำพร้อมกันสองข้างได้ไหม?


การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมสามารถทำการรักษาพร้อมกันทั้งสองข้างได้ แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนการผ่าตัดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์และการตัดสินใจของผู้ป่วยร่วมกัน


หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม กี่วันถึงจะกลับมาเดินได้?


โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะสามารถเดินลงน้ำหนักได้ภายใน 1 วัน โดยใช้เครื่องพยุงตัว


References


Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG). (2024, May 15). Osteoarthritis of the knee: Learn more – What are the different types of artificial knee joints? In InformedHealth.org. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK544988/


Knee Replacement Implants. (n.d.). orthoinfo. https://orthoinfo.aaos.org/en/treatment/knee-replacement-implants/


Monte, M. (2023, August 24). Knee replacement options: What are some types and considerations? MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/types-of-knee-replacement-options


Chaiyakit P, Ompornuwat K, Hongku N, Janphaung P. Stress shielding in the proximal tibia after total knee arthroplasty: A finite element analysis of 2- and 4-mm thick tibia prosthesis models Vajira Medical Journal: journal of Urban Medicine Vol.66 No.6 Nov-dec 2022. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/259206

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. พฤกษ์  ไชยกิจ

นพ. พฤกษ์ ไชยกิจ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital