บทความสุขภาพ

Knowledge

ไตใหม่ชีวิตใหม่ ประสบการณ์ผ่าตัดปลูกถ่ายไต รพ.พระรามเก้า

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากการรักษาด้วยการฟอกเลือดนั้นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ทำหน้าที่แทนไตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการฟอกเลือดสัปดาห์ละหลาย ๆ วัน ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย


ปัจจุบันการรักษาโรคไตวายเรื้อรังด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


ตลอด 30 ปี นับตั้งแต่โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เปิดให้บริการ (มิ.ย. 2535 – 28 ก.พ. 2566) สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตได้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตไปแล้ว 1,180 ราย ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในบทความนี้ได้รับเกียรติจากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจาก รพ. พระรามเก้า มาร่วมแชร์ประสบการณ์การผ่าตัดปลูกถ่ายไตกับเรา


สถิติการเปลี่ยนไตโรงพยาบาลพระรามเก้า


ปัจจุบันสถาบันโรตไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้าได้ผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยไปแล้วกว่า 1,210 ราย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จากข้อมูลข้างต้นมีสถิติที่น่าสนใจดังนี้


  • ไตจากผู้บริจาคที่เป็นญาติพี่น้องร่วมสายเลือดจำนวน 426 ราย
  • ไตจากผู้บริจาคที่เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 33 ราย
  • ไตจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย จำนวน 784 ราย
    • 95 ราย ได้รับไตภายใน 1 เดือน
    • 371 ราย ได้รับไตภายใน 6 เดือน
    • 534 ราย ได้รับไตภายใน 12 เดือน
  • ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุดที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต อายุ 11 ปี (ได้รับไตจากน้องชายของบิดา)
  • ผู้ป่วยอายุมากที่สุดที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต อายุ 84 ปี (ได้รับไตจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย)
  • เราทำการปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 367 ราย
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไตซ้ำในผู้ป่วยที่เคยล้มเหลวจากการเปลี่ยนไตในอดีต จำนวน 99 ราย
  • มีผู้ป่วยที่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังปลูกถ่ายไต จำนวน 5 ราย และมีเด็กที่เกิดจากมารดาที่ปลูกถ่ายไต จำนวน 7 ราย

โดยสถาบันโรตไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้าได้รับประกาศนียบัตรเกียรติยศความเชี่ยวชาญเป็นเลิศทางด้านการเปลี่ยนไตตามมาตรฐานสากลระดับโลกจาก JCI (Joint Commission International, USA) เมื่อมี พ.ศ. 2559


คลิก


แชร์ประสบการณ์จากผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายไต


การผ่าตัดปลูกถ่ายไตของสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้านั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้ให้เกียรติมาร่วมแชร์ประสบการณ์การผ่าตัดปลูกถ่ายไตกับเรา


  • คุณ รุ่งทิพย์ (เอ๋)….21 ปี ที่มืดมืน

ชีวิตที่ทุกข์กายและใจเนื่องจากป่วยเป็นโรคไตตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตมาแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต้องฟอกเลือดทั้งสิ้น 21 ปีเต็ม จนกระทั่งได้รับการเปลี่ยนไตครั้งที่ 2 ที่ รพ.พระรามเก้า

  • คุณ แอ๋ว อัญชนา…เหมือนฟ้ามาโปรด

เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้วเห็นว่า รถของ รพ.พระรามเก้ามาจอดรอที่หน้าบ้านเพื่อรับไปผ่าตัดเปลี่ยนไต

  • คุณรัชนี…สามีให้

เมื่อสามีซึ่งเป็นนักบินของกองทัพบกได้บริจาคไตให้กับภรรยาสุดที่รัก และยังสามารถทำงานต่อจนกระทั่งเกษียณอายุราชการ…

  • น้องเต้ เกษริน…Win Win Win !!

เป็นโรคไตวายเมื่ออายุ 15 ปี ได้ลงทะเบียนขอรับไปบริจาค และรออย่างมีความหวัง พร้อมที่จะสู้ และโชคเข้าข้างเมื่อคอยอยู่เพียงแค่ 2 เดือน ก็ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต…

  • คุณปรีชา…เย้ยฟ้า ท้าดิน

ด้วยโรคประจำตัวและการใช้ชีวิต คุณปรีชาต้องเข้ารับการผ่าหัวใจ ทำบอลลูน ผ่าสมอง และเปลี่ยนไตถึง 2 ครั้ง! เกิดเป็นปาฏิหาริย์ พร้อมตั้งปณิธานการใช้ชีวิตใหม่ต่อจากนี้

  • คุณสุธน…เราคนไทย

คุณสุธน ชาวไทย เชื้อสายอินเดีย เปลี่ยนความคิดที่จะไปเปลี่ยนไตที่ต่างประเทศ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย ไม่สะอาด โชคดีที่คนรู้จักแนะนำมาหาหมอที่ รพ.พระรามเก้า

  • คุณบุญแสน…จากแดนไกล

ความกังวลว่าตนอยู่ไกลถึงเกาะสมุย เป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่มีเส้นสาย จะได้รับไตบริจาคหรือไม่ แต่สภากาชาดและโรงพยาบาลได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คนธรรมดาที่อยู่แสนไกลก็สามารถได้รับการเปลี่ยนไตได้เช่นเดียวกัน

  • คุณเพทาย…หายจากมะเร็งร้ายก็เปลี่ยนไตได้

หลังจากรักษามะเร็งจนหายแล้ว 2 ปีเต็ม ก็ได้รับการเปลี่ยนไต ปัจจุบันเปลี่ยนไตมา 11 ปีแล้ว ไตก็ทำงานดี มะเร็งก็หายขาด

  • 3 สาวอัศจรรย์ ทั้งคน 3 ป่วยเป็นโรคไต…และทั้ง 3 ได้เปลี่ยนไต

3 สาวพี่น้องที่ป่วยเป็นโรคไตวาย ได้ลงทะเบียนขอไตบริจาคอย่างมีความหวัง และได้รับไตบริจาคจากสภากาชาดทั้ง 3 คน

  • คุณประชิด…คิดถูกแล้ว

เปลี่ยนไตเมื่ออายุ 71 ปี คุณหมอตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้ว บอกว่าร่างกายแข็งแรงสามารถเปลี่ยนไตได้แม้จะอายุมากก็ตาม

  • คุณชัย…บุญชัย ดีใจจัง

จากความสิ้นหวังคิดว่าเมื่อเป็นโรคไตวายแล้วคงต้องฟอกเลือดไปตลอดชีวิต ไม่เคยรู้มาก่อนว่าสามารถเปลี่ยนไตได้ ปัจจุบันเปลี่ยนไตแล้ว โดยรอเพียงแค่ไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น

  • คุณนิตยา…เธอมาไกล

คุณนิตยาผู้ป่วยโรคไตวาย เดินทางมาจากลำปางพร้อมลูกสาว ผู้ที่จะบริจาคไตให้แม่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า แต่โชคดีได้รับไตบริจาคจากสภากาชาดก่อน

  • สามีก็เปลี่ยนไต…ภรรยาก็เปลี่ยนไต

สามีได้เปลี่ยนไตเพราะน้องสาวบริจาคให้ ภรรยาได้เปลี่ยนไตเพราะลูกสาวบริจาคให้ ครอบครัวมีความสุขมากที่ได้ช่วยชีวิตใหม่ 2 ชีวิต และได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้า

  • คุณสุทธิพงษ์ 25 ปี… ชีวิตใหม่

ป่วยเป็นโรคไตวายในขณะที่ภรรยาท้องลูกคนแรกได้ 3 เดือน ตอนนั้นหัวใจสลาย สิ้นหวังและท้อแท้ หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนไตร่างกายกลับมาแข็งแรง ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ปัจจุบันมีลูก 2 คน และมีความสุขมาก

  • คุณนิรมล…เปลี่ยนไตแล้ว 25 ปี

หลังจากที่คุณพ่อบริจาคไตให้ตั้งแต่อายุ 26 ปี เหมือนได้ชีวิตใหม่ แต่งงาน มีลูก มีครอบครัว ผ่านมา 25 ปี ปัจจุบันลูกสาวเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วและคุณพ่ออายุ 75 ปี ท่านยังสุขภาพแข็งแรงดี

  • คุณเสาวนีย์…23 ปีที่เหมือนเดิม

เปลี่ยนไตเปลี่ยนไตเมื่ออายุ 62 ปี โดยลูกบริจาคไตให้ ปัจจุบันอายุ 85 ปีร่างกายแข็งแรงเพราะดูแลตัวเองอย่างดี

  • คุณโทนี…จากเกาหลี

ทหารอเมริกัน ประจำประเทศเกาหลี ภรรยาคนไทย ตั้งใจบินกลับอเมริกาเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนไต แต่เปลี่ยนใจเข้ารับการผ่าตัดที่ รพ.พระรามเก้า เนื่องจากผลการรักษาเป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานโลก

  • จากกาต้าร์ มาเมืองไทย

จากกาต้าร์ มุ่งหน้าไปอเมริกาเพื่อเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต กระทั่งรอเป็นเวลา 12 เดือน โดยทีมแพทย์ยังไม่มั่นใจในการผ่าตัดครั้งนี้และไม่สามารถบอกความคืบหน้าได้ สถานฑูตกาต้าร์ประจำประเทศไทยจึงแนะนำให้มารักษาที่ รพ.พระรามเก้า

  • คุณฉัตรทิพย์… 80 ยังเปลี่ยนไต

เปลี่ยนไตเมื่ออายุ 80 ปี ด้วยโรคประจำตัวทั้งเบาหวาน ความดัน ไขมัน และโรคหัวใจ เมื่อทีมแพทย์ รพ.พระรามเก้าได้ประเมินสุขภาพร่างกายและสภาพจิตใจผ่านแล้ว คุณฉัตรทิพย์จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด

  • คุณธงชัย…เปลี่ยนไต 3 ครั้ง

การดูแลสุขภาพไม่ดีทำให้ไตที่เปลี่ยนเสื่อมไปถึง 2 ครั้ง ปัจจุบันได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไปเป็นครั้งที่ 3 เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ครั้งที่ 3 และพร้อมปรับปรุงดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด

  • คุณยูมิ จาก…ญี่ปุ่น

คนไทยในญี่ปุ่น ตั้งใจจะผ่าตัดเปลี่ยนไตที่ประเทศญี่ปุ่นเพราะเบิกค่ารักษาได้ แต่แพทย์ที่นั่น แนะนำให้มาผ่าตัดเปลี่ยนไตที่ รพ.พระรามเก้า เพราะมีชื่อเสียง มีผลงานวิจัยออกมาอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งมีพี่น้องอยู่เมืองไทยซึ่งจะคอยดูแลให้กำลังใจด้วย

  • แม่ก็เปลี่ยนไต ลูกก็เปลี่ยนไต

จากที่ไม่กล้าเปลี่ยนไตเพราะกลัวการผ่าตัด แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากคุณแม่ที่อายุ 65 ปีหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต คุณแม่ฟื้นตัวเร็วมาก ไตทำงานดีจากที่เคยต้องฟอกเลือดอาทิตย์ละ 3 ครั้งทำให้เปลี่ยนใจ

  • รอไตนาน…ลูกสาวจะบริจาคให้

ใช้ชีวิตด้วยความลำบากต้องฟอกเลือดอาทิตย์ละ 3 วัน ขณะที่รอลูกสาวบริจาคไตให้ ก็ได้รับไตบริจาคจากสภากาชาดก่อน หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ 2 วัน ไตใหม่ก็เริ่มทำงานอย่างดี กลับบ้านได้ในเวลา 3 อาทิตย์ ชีวิตเหมือนปาฏิหาริย์


ข้อมูลสำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต


การผ่าตัดปลูกถ่ายไตถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ ทั้งการเตรียมตัวในช่วงการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด อีกทั้งเรื่องของการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร โภชนาการต่าง ๆ


เพราะการดูแลตัวเองที่ดีนั้นจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


อ่านเพิ่มเติม


สรุป


แม้การปลูกถ่ายไตนั้นเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน แต่ถ้าหากทำโดยทีมแพทย์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายไตแล้ว การปลูกถ่ายไตนั้นก็จะมีโอกาสสำเร็จสูง และหลังจากการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)



บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital