บทความสุขภาพ

Knowledge

pm 2.5 ปัญหาระบบทางเดินหายใจ

รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

ช่วงนี้ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 กลับมาสูงเกินมาตรฐานอีกครั้งหนึ่งแล้วค่ะ เรามาทบทวนความรู้เรื่องนี้ เพื่อความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพกันดีกว่านะคะ


PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทาง United state Environmental Protection Agency ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดตามขนาดของฝุ่นเป็นหน่วยไมครอน ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 โคยฝุ่น PM 2.5 จะมีขนาดเล็กเพียงแค่ 1 ใน 25 ของขนาดเส้นผม และมีน้ำหนักเบามาก แหล่งกำเนิดของ PM 2.5 ได้แก่ ควันเสียจากการเผาไหม้ของรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ดีเซลที่การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ควันไฟจากการเผาไร่นาและสิ่งปฏิกูลของภาคการเกษตร และจากโรงงานอุตสาหกรรม


PM 2.5 ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายใน ระบบทางเดินหายใจ คือ ทําให้เกิดโรคใน ระบบทางเดินหายใจ โดยหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน จะสะสมในปอด ทําให้สมรรถภาพการทํางานของปอดลดลง หากเป็นผู้ที่มีโรคเรื้อรังในระบบการหายใจ เช่น โรคหืด ถุงลมโป่งพอง หรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ก็อาจจะเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ จึงเกิดอาการคันจมูก จาม แสบจมูก มีน้ำมูกไหล ไอมาผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อยได้


หากสูดหายใจเข้าไปต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลให้การทำงานของปอดแย่ลง จนอาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย นอกจากนี้ PM 2.5 อาจผ่านผนังถุงลมและเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสเลือด จึงสามารถกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายของเราได้ และอาจทำให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


กลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง PM 2.5 อย่างเคร่งครัดได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก


สำหรับผู้ใหญ่ที่สุขภาพปกติ ระดับของ PM 2.5 ที่ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” ของกรมควบคุมมลพิษ คือ มากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หากค่ามากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจะถือว่า “มีผลกระทบต่อสุขภาพ” แต่ระดับของ PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในเด็กจากแถลงการณ์ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อ้างอิงตามระดับของกรมควบคุมมลพิษ จะต่ำกว่านั้น คือ มากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเด็กปกติ และ มากกว่า 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเด็กที่มีโรคปอด หอบหืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจ


ข้อควรปฏิบัติ ในช่วงที่มีปัญหา ค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน มีดังนี้


  1. ควรอยู่ในอาคารที่ปิดประตูหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศ​
  2. หากจำเป็นต้องเดินทางออกนอกบ้าน ก็ควรใส่หน้ากากชนิด N95 ชนิดที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้โดยต้องสวมให้ถูกต้องอย่างกระชับกับรูปหน้า
  3. ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจระบบทางเดินหายใจหรือระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน
  4. ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง
  5. ติดตามค่า PM 2.5 และดัชนีคุณภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เพื่อการเฝ้าระวัง อย่างสม่ำเสมอ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

รศ.พญ. รวีรัตน์  สิชฌรังษี

รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

ศูนย์กุมารเวชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital