บทความสุขภาพ

Knowledge

นอนกรน

นอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น

เสียงกรน คือ เสียงการสั่นพลิ้วสะบัดของลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน และช่องคอส่วนบน เกิดเมื่อมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน

ในคนวัยกลางคน (30-60 ปี) พบภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจได้ ประมาณ 4% ในผู้ชาย และ 2% ในผู้หญิง


การนอนกรน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. การนอนกรนธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังรบกวนต่อคนรอบข้าง
  2. การนอนกรนร่วมกับภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีภาวะหยุดหายใจหรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย เสียงกรนในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอ มีเสียงกรนและหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งในช่วงที่มีภาวะหยุดหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือดแดงอาจจะต่ำลงกว่าปกติ ทำให้หัวใจ ปอด และสมองทำงานหนักมากขึ้น อาจมีสะดุ้งตื่นกลางดึก ทำให้การหลับพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อตื่นนอนผู้ป่วยจะรู้สึกว่านอนไม่พอ

อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น ได้แก่ มีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงกลางวัน สมาธิไม่ดี และมีปัญหานอนกรน ทั้งนี้อาจพบอาการอื่นได้ ได้แก่


  • ตื่นนอนด้วยความรู้สึกที่ไม่สดชื่น
  • มีอาการหายใจไม่ออกขณะหลับ
  • มีการหยุดหายใจขณะหลับและนอนกระสับกระส่าย (โดยได้ประวัติจากคนใกล้ชิด)
  • เจ็บคอ คอแห้งเมื่อตื่นนอน
  • หงุดหงิดง่าย บุคลิกภาพเปลี่ยน
  • ปัสาวะรดที่นอน (มักจะพบในเด็ก)
  • ความต้องการทางเพศลดลง และมีผลต่อสุขภาพ เช่น
    • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
    • ภาวะตีบตันของหลอดเลือดในสมอง
    • ความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดในปอด

แพทย์จะทำการสอบถามข้อมูลจากตัวผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด เช่น สามีหรือภรรยา และให้ทำแบบสอบถามว่ามีอาการเผลอหลับในสถานการณ์ต่างๆหรือไม่


ปัจจัยที่ทำให้อาการกรนมากขึ้นและมีภาวะอุดตันทางเดินหายใจ


  1. น้ำหนักตัวมากขึ้น ทำให้ไขมันสะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น ช่องทางเดินหายใจจึงแคบลง
  2. เพศชาย เพื่อเชื่อว่าฮอร์โมนเพศหญิงทำให้ช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นเพศชายมีแนวโน้มจะมีอาการกรนและมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจมากกว่าเพศหญิง
  3. อายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบนจะตึงตัวน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
  4. เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และยาบางชนิดกดการตอบสนองของร่างกายต่อภาวะขาดออกซิเจนและภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้กล้ามเนื้อของช่องทางเดินหายใจยุบตัวง่ายขึ้น
  5. การสูบบุหรี่ ทำให้ช่องทางเดินหายใจอักเสบ หนาตัวและมีเสมหะมากขึ้น
  6. โครงสร้างกระดูกใบหน้า เช่น กระดูกแก้มที่แบนหรือคางที่เล็กและยื่นไปข้างหลัง
  7. โรคทางช่องจมูก เช่น ภูมิแพ้อากาศ ริดสีดวงจมูก ผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกบวม
  8. ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้น แพทย์หู คอ จมูก จะทำการตรวจร่างกาย โดยการส่องกล้องตรวจขนาดเล็ก แบบโค้งงอได้ เพื่อสืบค้นหาตำแหน่งการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน ตั้งแต่จมูกถึงกล่องเสียง อาจพิจารณาถ่ายภาพ X-ray และตรวจเลือด แพทย์ จะแนะนำให้ทำการตรวจการนอนหลับ Polysomnography หรือเรียกอีกชื่อ Sleep Study เพื่อบันทึกลักษณะความผิดปกติขณะนอนหลับเพื่อนำไปวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บันทึกข้อมูลต่างๆ


  • การตรวจวัดระดับความลึกของการนอนหลับ
  • การตรวจวัดระดับออกซิเจน ลมหายใจ และการเคลื่อนไหวของกล้มเนื้อทรวงอกและหน้าท้อง
  • การตรวจวัดการทำงานกล้ามเนื้อขณะหลับ
  • ท่านอนและเสียงกรน
  • การตรวจการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

หลังจากนั้นจะนำข้อมูลต่างๆ ร่วมกับผลการตรวจร่างกาย มาทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป


แนวทางการรักษา


  1. ปรับสุขภาพอนามัยการนอนหลับ นอนพักผ่อนเป็นเวลาทุกวัน ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนหลับ
  2. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงในท่านอนหงาย
  4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บุหรี่ และยานอนหลับหรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง
  5. ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะนอนหลับ CPAP (Continuous Posititve Airway Pressure) ซึ่งเครื่องจะอัดอากาศที่เหมาะสม ทำให้ช่องทางเดินหายใจกล้างขึ้น Oral applicances เป็นเครื่องมือทางทันตกรรม ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
  6. การผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามตำแหน่งที่มีภาวะอุดตัน
    1. ช่องจมูกและหลังโพรงจมูก เช่น ผ่าตัดริดสีดวงจมูก ผ่าตัดผนังจมูกให้ตรง ลดขนาดของเยื่อบุจมูกบวมด้วยเครื่องซอมโนพลาสตี้ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction)
    2. ผ่าตัดทอนซิลและตกแต่งบริเวณลิ้นไก่เพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplarty (UPPP)
    3. ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น Maxillo-Mandibular Advancment (MMA)

ข้อควรปฏิบัติในการเตรียมตัวตรวจการนอนหลับ


  1. อาบน้ำ สระผมให้สะอาดก่อนมาตรวจ ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ชา กาแฟ ในวันที่จะมาตรวจ
  3. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวันของวันที่มาตรวจ
  4. กรุณาจดชื่อ และขนาดยา พร้อมทั้งนำยาทุกชนิดที่รับประทานอยู่ติดตัวมาด้วย (หากมีข้อสงสัยเรื่องยา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจ)
  5. กรุณามาถึงโรงพยาบาลก่อน 22.00 น. โดยติดต่อที่แผนกรับผู้ป่วยใน (ชั้น 2)
  6. เมื่อท่านมาถึง เจ้าหน้าที่ประจำห้องตรวจจะเริ่มทำการติดตั้งเครื่องและตัวตรวจวัดต่างๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที
  7. สำหรับการตรวจตอนกลางคืนจะสิ้นสุดลงเวลาประมาณ 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับเวลาเข้านอน-ตื่นนอนตามปกติของท่าน)
  8. ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมอาหารเช้าวันรุ่งขึ้นสำหรับท่านรับประทานก่อนกลับบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital