บทความสุขภาพ

Knowledge

ปวดหลัง อาการที่มองว่าปกติ แต่ความจริงอันตรายกว่าที่คิด

อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง


การเคล็ดขัดยอก การตึง การอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณหลัง ปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง ปัญหาจากโรคข้ออักเสบต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน


ปวดหลัง (Back Pain)


ความรู้สึกไม่สบายที่เกิดที่ตำแหน่งใดก็ได้บนกระดูกสันหลังหรือหลัง ซึ่งมีหลายระดับตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดจนไม่สามารถขยับทำอะไรได้เลย


อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การเคล็ดขัดยอก การตึง การอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณหลัง ปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง ปัญหาจากโรคข้ออักเสบต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน


การรักษาอาการปวดหลังเบื้องต้น


การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลัง


  1. พักการใช้งานและหลีกเลี่ยงการก้มเงยหลัง และยกของหนัก
  2. ควบคุมน้ำหนักตัว หรือลดน้ำหนักกรณีที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  3. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างเหมาะสม
  4. ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวดตึงอักเสบ กรณีอาการปวดเกิดจากอุบัติเหตุหรือมีอาการบวมให้ใช้การประคบเย็น
  5. ใช้ยาทาภายนอก ยารับประทานและยาฉีด

สาเหตุของอาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่างๆต่อไปนี้


สาเหตุที่เกิดจากเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ


  • เกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม
  • ยกของผิดท่า
  • การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ออกกำลังกาย
  • การเกิดอุบัติเหตุ
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
  • Myofascial Pain Syndrome

สาเหตุที่เกิดจากกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลัง


  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc Herniation)
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม(Degenerative Discs)
  • โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis)
  • กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)

สาเหตุอื่นๆ


  • ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดต่างๆ
  • การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง (Spinal Infection)
  • เนื้องอก / มะเร็ง กระดูกสันหลัง
  • ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital