บทความสุขภาพ

Knowledge

ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สัญญานเตือน โรคหมอนรองกระดูกคอ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

อาการปวดต้นคอ ร้าวมาบ่าไหล่ จัดว่าเป็นอาการที่พบบ่อยในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทำงานที่ต้องนั่งเป็นประจำ หรือใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ มีความเครียดและไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเกร็งบ้าง Office syndrome บ้าง บางครั้งสาเหตุหลักมาจากหมอนรองกระดูกคอที่มีปัญหา จนไปกดทับรากประสาท หรือกระตุ้นเส้นประสาทที่ใกล้หมอนรองกระดูก จนทำให้กล้ามเนื้อรอบคอเกร็ง ปวดถึงบริเวณบ่า สะบักหรือ หัวไหล่

อาการที่ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอ


ควรสงสัยในกรณีที่มีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย


  • มีอาการปวดร้าวลงมาที่ต้นแขน แขนหรือนิ้วมือ
  • มีอาการชา ที่ไหล่ สะบัก หรือชาบริเวณแขน หรือนิ้วมือ
  • มีอาการอ่อนแรง ของแขนหรือมือ

ในกรณีที่เป็นมากจนหมอนรองกระดูกไปกดทับไขสันหลังหรือทำให้โพรงประสาทคอตีบมาก อาจมีอาการอ่อนแรงของขา เดินเซ ทรงตัวลำบาก


ทำอย่างไรในกรณีที่มีอาการโรคหมอนรองกระดูกคอ


เบื้องต้นในกรณีที่มีอาการปวดคอบ่าไหล่อย่างเดียวจากการทำงาน มักเป็นสาเหตุจากกล้ามเนื้อนั้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงท่าที่กระตุ้นการปวด การพักเป็นระยะระหว่างทำงาน เปลี่ยนอิริยาบถ ออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ ตลอดจนการสร้างกล้ามเนื้อมัดที่ทำงานหนักให้แข็งแรงและทนขึ้น


ในกรณีที่มีอาการผิดปกติอื่นดังกล่าวมาแล้วไม่ว่าจะปวดร้าว ชา หรืออ่อนแรง แนะนำให้เข้ารับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรง เพื่อทำการรักษาต่อไป


การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอมีอะไรบ้าง


ส่วนใหญ่ในคนที่มีอาการเรื้อรังและอายุค่อนข้างมาก สาเหตุมักเกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกคอ การรักษาแบ่งเป็น2แบบ ได้แก่


  1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ได้แก่ การใช้ยา การทำเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
  2. การักษาโดยการผ่าตัดซึ่งมีหลายวิธีขึ้นกับสาเหตุ ตำแหน่งรวมถึง ความรุนแรงของโรค ฯลฯ แต่สิ่งสำคัญสุดคือความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยในการหลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นการกดทับเส้นประสาทตลอดจนปรับพฤติกรรมการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเสริมสร้รงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบคอเพื่อให้สามารถทำงาน ใช้ชีวิตตลอดจนป้องกันการเกิดโรคของหมอนรองกระดูกคอในอนาคต

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital