บทความสุขภาพ

Knowledge

“กระดูกข้อมือหัก” ตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ผศ.นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

การหกล้ม หนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อเราหกล้มเรามักใช้มือในการป้องกันการกระแทกส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้น กระดูกข้อมือหัก จึงกลายเป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะในคนอายุเท่าใดก็ตาม และมือก็เป็นอวัยวะสำคัญที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน กระดูกข้อมือหักจึงส่งผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างมาก การดูและรักษาที่เหมาะสมเมื่อเกิดกระดูกข้อมือหักจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้งานมือได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด


การรักษากระดูกข้อมือหัก จะเป็นการใส่เฝือกหรือการผ่าตัดดามโลหะ ต้องพิจารณาร่วมกันหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการแตกหักเข้าไปในผิวข้อหรือนอกข้อ แตกน้อยหรือแตกละเอียด การเคลื่อนผิดรูปของส่วนที่หัก สภาวะกระดูกของผู้ป่วย ข้างที่หัก อาชีพ อายุ หรือความต้องการใช้งานของผู้ป่วย เป็นต้น


การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยทุกราย ควรใส่เฝือกดามส่วนที่หักไว้ให้มั่นคงก่อน เพื่อลดปวดให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงลดการบาดเจ็บเพิ่มเติมของเนื้อเยื่อ กระดูกที่หักโดยเฉลี่ยจะเริ่มเชื่อมติดกันใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ดังนั้นกรณีที่รักษาโดยการใส่เฝือกจึงต้องใส่ไว้อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์เช่นกัน โดยต้องระวังไม่ให้เฝือกถูกน้ำหรือเสียหาย เพราะอาจทำให้กระดูกที่หักเคลื่อนผิดรูปมากขึ้น


กรณีผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหักอาจทำภายใต้การระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่แขน หรือดมยาสลบ และเปิดแผลผ่าตัดขนาด 4-5 เซนติเมตร เข้าไปจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่ แล้วใช้แผ่นโลหะและสกรูในการยึดตรึงกระดูกให้มั่นคงแข็งแรงใกล้เคียงก่อนแตกหักมากที่สุด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณหนึ่งชั่วโมง หลังการผ่าตัดดามกระดูกเรียบร้อยจึงเสมือนว่ากระดูกเชื่อมติดกัน ดังนั้นผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวขยับใช้งานข้อมือและนิ้วมือเบาๆได้ทันที (บางกรณีอาจมีการใส่เฝือกอ่อนดามข้อมือไว้ชั่วคราว 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

ผศ.นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ผศ.นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital