บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคงูสวัดและวัคซีนป้องกันงูสวัดรุ่นใหม่

พญ. อังสนา ภู่เผือกรัตน์, พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

โรคงูสวัด


โรคงูสวัด (herpes zoster หรือ shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส varicella-zoster โดยการติดเชื้อครั้งแรกทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (chickenpox) มักเป็นในวัยเด็ก และเชื้อไวรัสนี้แฝงอยู่ในร่างกายบริเวณปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง ไวรัสนี้จะก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้ โดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตนเอง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น


อาการของโรคงูสวัด


มีผื่นผิวหนัง ร่วมกับเส้นประสาทอักเสบ โดยผื่นเริ่มเป็นตุ่มแดง เป็นกระจุกตามแนวเส้นประสาท ไม่ข้ามแนวกลางลำตัว ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด รวมกับอาการปวดประสาท ปวดแสบปวดร้อน ซึ่งส่วนใหญ่มักปวดนำมาก่อนผื่นผิวหนัง 2-3 วัน อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียร่วมด้วย


ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด


  • อาการปวดปลายประสาทหลังงูสวัด (postherpetic neuralgia) ตามแนวที่ตุ่มน้ำขึ้น มักปวดนานเกิน 3 เดือน มักพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • Herpes zoster opthalmicus เป็นการติดเชื้อที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 แขนงที่เลี้ยงตา ซึ่งหากมีการอักเสบภายในตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
  • Ramsay hunt syndrome หรือ herpes zoster oticus ติดเชื้อที่ปมประสาท และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อาการมาด้วยใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก ร่วมกับปวดหู และตุ่มน้ำขึ้นที่หู
  • ภาวะแทรกซ้อนระบบประสาทอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นต้น

การรักษาโรคงูสวัด


รักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งควรเริ่มยาภายใน 3 วันหลังจากเริ่มมีอาการ จะได้ผลการรักษาดี รวมกับยาลดอาการปวด ในรายที่เป็นมาก มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพทย์อาจรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาฉีดต้านไวรัส


การป้องกันโรคงูสวัด


วัคซีนป้องกันงูสวัดตัวใหม่ เป็น recombinant zoster vaccine ซึ่งดีกว่าวัคซีนเดิมที่เป็นเชื้อมีชีวิตทำให้อ่อนฤทธิ์ลง (zoster vaccine live) วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดถึง 97% ในผู้ที่มีอายุ 50-69 ปี และ 91% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการปวดปลายประสาทหลังงูสวัดได้ถึง 89-91% ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 68-91%


ใครบ้างควรฉีดวัคซีนงูสวัด


  • ทุกคนที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่มีอายุมากกว่า 19 ปี

ผลข้างเคียง


ผลข้างเคียงเหมือนวัคซีนทั่วไป หลังฉีดควรสังเกตอาการแพ้ที่โรงพยาบาล อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ ไข้หนาว คลื่นไส้ ปวดท้อง ใน 2-3 วัน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง และหายเองได้ 2-3 วัน


ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน


ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง ตั้งครรภ์ หรือกำลังป่วยโรคงูสวัดอยู่


การฉีควัคซีน


ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน สามารถฉีดได้ในคนที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน เคยฉีดวัคซีนงูสวัดรุ่นเดิมหรือวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน โดยควรเว้นจากวัคซีนเดิมอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. อังสนา ภู่เผือกรัตน์

พญ. อังสนา ภู่เผือกรัตน์

ศูนย์อายุรกรรม

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital