บทความสุขภาพ

Knowledge

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้งานข้อมือหนัก ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนส่วนมากมีการใช้งานคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนอยู่เป็นประจำ ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ข้อมืออักเสบมากขึ้น หากปล่อยปละละเลย ไม่ทำการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการอักเสบรุนแรง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ในที่สุด


Key Takeaways


  • ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คือ การอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ใช้กางนิ้วหัวแม่มือที่อยู่บริเวณข้อมือ ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือด้านโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อมือร่วมกับออกแรงกดที่นิ้วหัวแม่มือ
  • สาเหตุที่ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ได้แก่ การใช้งานข้อมือหนัก ใช้งานข้อมือด้วยท่าทางซ้ำ ๆ อุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บ หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางอย่าง เป็นต้น
  • การป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบสามารถทำได้ด้วยการหยุดพักการใช้งานข้อมือ บริหารข้อมือสม่ำเสมอ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร?


what-is-de-quervain-tenosynovitis.jpg

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s Tenosynovitis, Radial styloid tenosynovitis) คือโรคที่ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือเกิดการอักเสบหรือหนาตัวขึ้น จากการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นที่ช่วยในการเหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ (Extensor Pollicis Brevis และ Abductor Pollicis Longus) กับปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ (Extensor retinaculum) ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อมือหรือขยับนิ้วหัวแม่มือ


อาการที่พบบ่อยเมื่อปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอะไรบ้าง?


ผู้ป่วยปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบมักจะมีอาการปวดข้อมือใกล้ ๆ โคนนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งอาการปวดจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการใช้แรงจากข้อมือหรือมีการขยับข้อมือ ในบางรายอาจพบอาการชาที่โคนนิ้วหัวแม่มือไปยังปลายนิ้วหัวแม่มือ หากอาการเอ็นข้อมืออักเสบรุนแรงอาจพบอาการบวม ร้อน แดง ที่เห็นได้ชัด


ทั้งนี้ อาการเอ็นข้อมืออักเสบอาจเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หรือเกิดขึ้นแบบเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เอ็นข้อมืออักเสบ


ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?


โรคเอ็นข้อมืออักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทันทีทันใด หรือเกิดจากการบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้


  • การใช้งานข้อมือด้วยท่าทางซ้ำ ๆ หรือใช้งานข้อมือด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานบ้าน, ซักผ้า, กวาดถูบ้าน, ยกของหนัก, อุ้มเด็ก หรือแม้แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์ จับโทรศัพท์มือถือตลอดเวลาก็มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดเอ็นข้อมืออักเสบ
  • อุบัติเหตุที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เอ็นข้อมือรุนแรง ทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือขึ้นได้ เช่นการล้มเอามือยันพื้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคบางอย่าง เช่น ข้ออักเสบ, โรครูมาตอยด์, โรคเบาหวาน, ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ฯลฯ

ใครบ้างเสี่ยงเป็นปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ?


who-is-at-risk-for-de-quervain-tenosynovitis-1024x1024.webp

ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดเส้นปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบมีดังนี้


  • นักกีฬาที่มีการใช้งานข้อมือหนัก ๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส ฯลฯ
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องใช้งานข้อมือซ้ำ ๆ เช่น เชฟ ช่างฝีมือ พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ฯลฯ
  • ผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีโอกาสใช้งานข้อมือหนักซ้ำ ๆ จากการทำงานและกิจวัตรประจำวัน
  • ผู้หญิงมีโอกาสเกิดเอ็นข้อมืออักเสบมากกว่าผู้ชาย
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบวมของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเบาหวาน เป็นต้น

วิธีการรักษาปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอะไรบ้าง?


แนวทางการรักษาปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ แพทย์จะพิจารณาจากระดับความรุนแรงของโรค โดยสามารถแบ่งวิธีการรักษาออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้


รักษาอาการเบื้องต้น


กรณีที่อาการเอ็นข้อมืออักเสบไม่รุนแรงมาก ในเบื้องต้นสามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยตนเอง เช่น


  • หยุดพักการใช้งานข้อมือ และพยายามให้ข้อมืออยู่ในระนาบเดียวกับแขน
  • ใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
  • ประคบอุ่นเพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ

ในทางการแพทย์ นอกจากการรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นแล้วยังสามารถทำกายภาพบำบัด หรือเข้าเฝือก เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ ลดการบาดเจ็บและอักเสบซ้ำ หรือแพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เพื่อลดการอักเสบ


รักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์


กรณีที่อาการอักเสบรุนแรงปานกลาง เริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดการปวดและอักเสบของบริเวณปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ ทั้งนี้ ควรรักษาแบบประคับประคองอาการร่วมด้วย เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด


รักษาด้วยการผ่าตัด


กรณีที่ผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วยังไม่สามารถลดอาการปวดข้อมือได้ หรือกลับเป็นซ้ำอีก แพทย์จะพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นเพื่อลดการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นกับปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาไม่นาน หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล


ไม่อยากปวดข้อมือจากปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีวิธีป้องกันอย่างไร?


เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้


  • หลีกเลี่ยงการหิ้วหรือยกของหนัก หรือควรใช้เครื่องมือช่วยยกหรือเคลื่อนไหวของแทน
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือแบบซ้ำ ๆ หากมีความจำเป็น โดยอาจเว้นระยะการใช้งาน ปรับเปลี่ยนบริบทบ้างให้ข้อมือได้มีการพักบ้าง หรือหาวิธีทุ่นแรงเพื่อลดการใช้ข้อมือลง

นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันด้วยการบริหารข้อมือสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับข้อมือ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม จะช่วยลดการเกร็งของข้อมือได้เป็นอย่างดี


ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบอย่าปล่อยไว้ รีบรักษา ให้ข้อมือกลับมาเคลื่อนไหวได้ดีอีกครั้ง


แม้ว่าปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก อย่าปล่อยให้อาการเจ็บปวดเรื้อรัง รีบเข้ารับการรักษาปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับมาใช้งานข้อมือได้เป็นปกติอีกครั้ง


ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า เราให้คำแนะนำและทำการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางประจำศูนย์รักษ์ข้อ พร้อมดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังรับการรักษาโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อให้ผลลัพธ์การรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม



คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ


ทำไมผู้หญิงถึงเป็นเอ็นข้อมืออักเสบมากกว่าผู้ชาย?


เนื่องจากกิจวัตรประจำวันของผู้หญิงส่วนใหญ่อย่างการทำงานบ้าน, ซักผ้า, กวาดถูบ้าน หรือยกของหนัก ทำให้มีการใช้งานข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จึงมีโอกาสเกิดเอ็นข้อมืออักเสบได้มาก


มีอาการปวดแบบไหน ถึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด?


การผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบจะทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดข้อมือรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผลหรือเป็นซ้ำ


References


De Quervain’s Tendinosis. (2023, June 14). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10915-de-quervains-tendinosis


Satteson, E., & Tannan, S. C. (2023, November 22). De Quervain tenosynovitis. In StatPearls. StatPearls Publishing. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK442005/


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

นพ. อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital