บทความสุขภาพ

Knowledge

ปลูกถ่ายไตจากหมูสู่คน ความหวังที่ไม่ไกลเกินเอื้อม

พญ. สุธานิธิ เลาวเลิศ

ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของวงการสาธารณสุขของทั้งในประเทศไทยและเกือบทุกประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ในด้านการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นอย่างมากจนสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดได้ยาวนานมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญในเรื่องการขาดแคลนอวัยวะ เนื่องจากยังมีผู้บริจาคอวัยวะน้อยกว่าคนไข้ที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไข้โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เสียชีวิตในแต่ละปีระหว่างรอการปลูกไต สำหรับประเทศไทยในปี 2566 พบว่ามีผู้รอรับบริจาคไตทั้งสิ้น 6,634 ราย ในขณะที่มีผู้ป่วยทีได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเพียง 986 รายเท่านั้น (ข้อมูลจากสภากาชาดไทย) การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน (Xenotransplantation) เป็นหนึ่งในวิธีที่มีศักยภาพอย่างมากในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะของมนุษย์ โดยอวัยวะของสัตว์ที่ผ่านการปรับแต่งพันธุกรรมจนสามารถเข้ากับมนุษย์ให้มากที่สุดแล้วนั้นจะสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดเวลาในการรอการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่มนุษย์ได้ เพื่อให้สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที และช่วยลดอัตราผู้เสียชีวิตจากปัญหาการขาดแคลนอวัยวะได้ในที่สุด ดังนั้นการปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คนจึงกลายเป็นหนึ่งในความหวังของคนไข้ทั่วโลก


การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน (Xenotransplantation) คืออะไร?


การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน คือ กระบวนการที่นำอวัยวะหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์มาปลูกถ่ายใส่ให้แก่คน โดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์จะใช้เทคนิคทางวิศวะพันธุกรรมที่ทันสมัยในปัจจุบันอย่าง CRISPR-Cas 9 ในการปรับแต่งพันธุกรรมของตัวอ่อนหมูสำหรับการผลิตอวัยวะที่มีความเข้ากันได้กับมนุษย์มากขึ้น เพื่อลดอัตราการปฏิเสธอวัยวะจากการผ่าตัดปลูกถ่าย โดยอวัยวะที่เริ่มมีการทดลองใช้ในการปลูกถ่ายคือหัวใจและไต อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงผลกระทบในระยะยาวต่อไปเพื่อให้เข้าใจอาการและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะยาวต่อมนุษย์ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่าย


ทำไมต้องเป็นหมู


สัตว์ที่นิยมนำมาใช้คือหมู เนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยง่าย มีอวัยวะภายในที่มีขนาดใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด และมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคต่ำกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ


ผลการศึกษาทดลองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน


ในช่วงแรก มีการทดลองการปลูกถ่ายไตหมูให้แก่ลิงบาบูน ลิงบาบูนถูกนำมาใช้เพราะมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มาก และไตสามารถทำงานได้เกิน 2 ปี ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจึงได้มีการทดลองใส่อวัยวะของหมูให้แก่คน โดยการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (University of Maryland Medical Center) ทดลองปลูกถ่ายหัวใจหมูสู่คน 2 ราย รายแรกเป็นผู้ป่วยชายได้รับหัวใจจากหมู หลังการผ่าตัดเขามีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2 เดือน สาเหตุการเสียชีวิตไม่ชัดเจน เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ porcine CMV ซึ่งเป็นไวรัสเฉพาะหมู ส่วนในรายที่ 2 เกิดภาวะปฏิเสธเนื้อเยื่อแบบชนิดแอนติบอดี ทำลายอวัยวะในที่สุด ในขณะที่มีการศึกษาการปลูกถ่ายไตหมูให้ผู้ป่วยสมองตาย (ก่อนที่หัวใจจะหยุดทำงาน) 2 รายที่ มหาวิทยาลัยอลาบามา (University of Alabama) โดยติดตามการทำงานของไตหลังปลูกถ่ายเป็นเวลา 54 และ 74 ชั่วโมงตามลำดับ พบว่าไตยังสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีการปฏิเสธเนื้อเยื่อ


และจากข่าวล่าสุดที่กำลังเป็นที่ฮือฮาในวงการปลูกถ่ายอวัยวะทั่วโลก คือการปลูกถ่ายไตหมูสู่ผู้ป่วยโรคไตสำเร็จเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2024 ณ โรงพยาบาลแมสซาซูเซตส์เจเนอรัล โดยเปิดเผยข้อมูลอาสาสมัครเป็นผู้ป่วยชายชื่อ ริชาร์ด สเลย์แมน อายุ 62 ปี เป็นโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เคยได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมาแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน แต่ต่อมาการทำงานของไตล้มเหลว ต้องกลับมาฟอกเลือดใหม่ และได้รับการปลูกถ่ายไตเป็นครั้งที่ 2 โดยใช้ ไตหมู Yucatan เลือดกรุ๊ปโอ ที่มีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมตำแหน่งต่างๆถึง 69 ตำแหน่ง โดยการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือ


  1. ลบยีนส์ที่สร้างโปรตีนคาร์โบไฮเดรตบนผิวเซลล์หมู (glycan antigen) ออกไป 3 ตำแหน่ง เนื่องจากร่างกายคนมีแอนติบอดีต่อโปรตีนดังกล่าวแต่แรก (pre-form antibody)
  2. เพิ่มยีนส์มนุษย์ (overexpressing human transgenes) ที่สร้างโปรตีนเกี่ยวกับระบบคอมพลิเมนต์ของคนและการแข็งตัวในหลอดเลือด 7 ยีนส์ เช่น CD55 และ CD 46 เพื่อให้มีความสามารถยับยั้งระบบคอมพลิเมนต์ของคนได้
  3. ยับยั้งการทำงานของรีโทรไวรัสฝังใน (inactivating porcine endogenous retroviruses)

ริชาร์ด สเลย์แมน ได้รับอนุญาติให้ออกจากรพ. เมื่อวันที่ 3 เมษายน โดยไม่ต้องฟอกเลือด เนื่องจากไตหมูสามารถทำงานได้ดี ริคกล่าวว่า หนึ่งในเหตุผลที่เขาเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ไม่เพียงแต่ช่วยชีวิตเขาเอง แต่เพื่อให้เขาความหวังแก่ผู้คนจำนวนมากที่ต้องการปลูกถ่ายเผื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พค.ได้มีการประกาศการเสียชีวิตของเขาโดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเสียชีวิต


ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการจากไปของ ริค เป็นผู้บุกเบิกก้าวใหญ่ของวงการปลูกถ่ายอวัยวะ ความกล้าหาญและความเสียสละของริค จะไม่สูญเปล่าแน่นอนค่ะ


Reference


  1. https://www.kidney.org/atoz/content/xenotransplantation
  2. Anand, R.P., Layer, J.V., Heja, D. et al. Design and testing of a humanized porcine donor for xenotransplantation. Nature 622, 393–401 (2023). https://doi.org/10.1038/s41586-023-06594-4

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. สุธานิธิ เลาวเลิศ

พญ. สุธานิธิ เลาวเลิศ

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital